วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

101

{ แผ่นที่ 1 ปก }
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง : ก้อนหอมไล่ยุง
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
ปีการศึกษา 2552

{ แผ่นที่ 2 ต่อจากปก }
โครงงานเรื่อง : ก้อนหอมไล่ยุงพกพา
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ชินกฤต ตั้งคุณาพิพัฒน์ ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 2
2. ด.ญ.ภัณฑิรา ภักดีทศพล ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 10
3. ด.ญ.สราลี ภัทราวานิชานนท์ ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 15
4. ด.ญ.พัชศิริณันท์ แพรวพรายกุล ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 20
อาจารย์ที่ปรึกษา
ม.ณัฐกิตติ์ คลังจันทร์
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิทยาศาสตร์


บทคัดย่อ : โครงงานเรื่องก้อนหอมไล่ยุง
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ก้อนหอมไล่ยุง นี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลิ่นต่างๆจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง การจัดทำโครงงานนี้ขึ้น มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าและทดลองดังนี้ ขั้นแรกนำ น้ำมันหอมระเหย ที่เลียนแบบกลิ่นธรรมชาติจำนวน 2 กลิ่นได้แก่ กลิ่นตะไคร้และส้ม มาทำให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่แน่นอนและไม่คลาดเคลื่อน สามารถทดสอบได้ง่าย จากนั้นปรับปรุงน้ำมันหอมระเหยให้อยู่ในรูปของก้อนหอมดับกลิ่น จากผลการทดลองพบว่า กลิ่นตะไคร้มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงมากกว่ากลิ่นส้ม โดยวัดจากปริมาณยุงในสถานที่ทดสอบ ซึ่งเห็นได้ถึงความแตกต่างทำให้เราทราบว่าการจะไล่ยุงนั้นใช้ตะไคร้ได้ผลที่ดีกว่า เนื่องจากตระไคร้มีกลิ่นที่แรง และมีสาร camphor (2,3), cineol (4-6), eugenol (7-10), linalool (11), citronellal,citral (8) จึงทำให้สามารถไล่ยุงได้


{ แผ่นที่ 3 }
กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ณัฐกิตติ์ คลังจันทร์ ที่ให้คำปรึกษาตลอดมาในช่วงที่จัดทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้น ขอขอบพระคุณ ผู้ปกครองของสมาชิกทุกคนในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการจัดหาอุปกรณ์ รวมทั้งเอื้อเฟื้อสถานที่ ในการจัดทำ และสุดท้าย ที่ขาดไม่ได้ ขอขอบคุณสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ที่ร่วมือ รวมแรง และร่วมใจ อย่างสามมัคคีกันในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้น จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี


คณะผู้จัดทำ
11 กันยายน 2552

{ แผ่นที่ 4 สารบัญ }
สารบัญ

เรื่อง หน้า

บทที่ 1 บทนำ 1
- ที่มาและความสำคัญ
- จุดมุ่งหมายของการศึกษา
- สมมติฐาน
- ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ขอบเขตการทดลอง
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2-5

บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง 6

บทที่ 4 ผลการทดลอง 7

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง 8
บทที่ 1 : บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องทำกิจกรรมมากมาย ในบางครั้งเราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในที่อับๆ หรือมีน้ำขัง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของยุงนานาชนิด และอาจเป็นที่มาของโรคร้ายด้วย ดังนั้น เพื่อความสะดวกและป้องกันโรคที่มากับยุง เราจึงคิดค้นที่จะประดิษฐ์ก้อนหอมไล่ยุง โดยทำให้อยู่ในขนาดที่พอเหมาะและสะดวกในการพกพาติดตัวไปทุกที่

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาความสามารถของกลิ่ง ตะไคร้และส้ม
2. เพื่อทดสอบว่ากลิ่นแบบใดสามารถไล่ยุงได้ดีที่สุด

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ศึกษากลิ่นจากธรรมชาติ คือ ตะไคร้และส้ม

ตัวแปรที่ทำการศึกษา
ตัวแปรต้น : กลิ่นตะไคร้ กลิ่นส้ม
ตัวแปรตาม : ปริมาณยุงเมื่อนนำกลิ่นไปตั้ง
ตัวแปรควบคุม : ระยะเวลา สถานที่ ปริมาณที่ใช้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าใหม่ๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
2. ได้ทราบวิธีไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นอันตรายต่อตัวเรา
บทที่ 2 : เอกสารที่เกี่ยวข้อง

สารส้ม หรือ Alum มาจากภาษาละตินคำว่า.. "Alumen" แปลว่า.. "สารที่ทำให้หดตัว (astringent)" ซึ่งเป็นเกลือเชิงซ้อนของสารประกอบ ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ในปัจจุบัน นิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัวทาที่รักแร้กันมากเพราะไม่ทำให้รักแร้ดำ มีหลายแบบ เช่น แบบแท่ง, แบบผงแป้ง, แบบโรลออน และแบบสเปรย์ ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเหมาะสมที่ผู้ใช้จะเลือกซื้อ
สรรพคุณ
สารส้มใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำเพื่อให้สิ่ง
สกปรกตกตะกอน สามารถใช้ในการ
กำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน
ดับกลิ่นได้ 100% และนานถึง 24 ชั่วโมง
และสามารถใช้กำจัดกลิ่นเท้าได้

ผงฟูทำขนมปัง เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็น
ด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผนึกเกลือ กรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และcitrate ส่วนกรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นกรดอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ baking powder ในปัจจุบันเรียกว่าdouble acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง กรดเกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าbaking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting
การใช้งาน
ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก
แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ

เกลือ ในทาง
เคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก (ionic compound) ประกอบด้วยแคตไอออน (cation : ไอออนที่มีประจุบวก) และแอนไอออน (anion : ไอออนที่มีประจุลบ) ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสิทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) และไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยาด้วยกัน
ลักษณะของเกลือแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.เกลือเม็ด ผลิตโดยชาวนาเกลือทะเลและผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีตาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การดองผักผลไม้ และไอศกรีม
2.เกลือป่น ผลิตโดยโรงงานเกลือป่นที่ซื้อเกลือเม็ดจากชาวนาเกลือมาแปรรูปเป็นเกลือป่น และผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีการต้ม เกลือป่นที่ไม่ต้องผ่านการแปรรูปนิยมทำเป็นเกลือบริโภคตามบ้านเรือน

น้ำมันหอมระเหย เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะเห็นต่อมน้ำมันได้ชัดในส่วนของใบและเปลือกผลของพืชจำพวกส้ม น้ำมันหอม ระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชได้แก่ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
พืชสร้างน้ำมันหอมระเหยมาเพื่อ :
กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูด แมลงมาผสมเกสร น้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆของพืชเชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเอง จากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลายพืชนั้นๆเช่นแมลง เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรค
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหย
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60วงศ์ ที่สำคัญได้แก่ Labiatae(มินต์) , Rutaceae(ส้ม), Zingiberaceae(ขิง), Gramineae(ตะไคร้)

ตระไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน)เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.ตะไคร้กอ
2.ตะไคร้ต้น
3.ตะไคร้หางนาค
4.ตะไคร้น้ำ
5.ตะไคร้หางสิงห์
6.ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
สรรพคุณ
ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อนท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ
ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดใน
สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมดซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด

น้ำ เป็น
ของเหลวชนิดหนึ่ง น้ำเป็นของเหลวที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้ในหลายๆ สถานที่ อาทิ ทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และในหลายๆ รูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน ลูกเห็บ เมฆ และไอน้ำ
รูปแบบของน้ำ
น้ำมีหลายรูปแบบ เช่น
ไอน้ำและเมฆบนท้องฟ้า คลื่นและก้อนน้ำแข็งในทะเล ธารน้ำแข็งบนภูเขา น้ำบาดาลใต้ดิน ฯลฯ น้ำเปลี่ยนแปลงรูปแบบ สถานะ และสถานที่ของมันตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นไอ ตกลงสู่พื้นดิน ซึม ชะล้าง และไหล ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำบนผิวโลกเรียกว่าวัฏจักรของน้ำ
เนื่องจากการตกลงมาของน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกษตรและต่อมนุษย์โดยทั่วไป มนุษย์จึงเรียกการตกลงมาของน้ำแบบต่างๆ ด้วยชื่อเฉพาะตัว ฝน ลูกเห็บ หมอก และน้ำค้างเป็นการตกลงมาของน้ำที่พบได้ทั่วโลก แต่หิมะและน้ำค้างแข็งมีเฉพาะในประเทศเขตหนาว รุ้งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อละอองน้ำในอากาศต้องแสงอาทิตย์ในมุมที่เหมาะสม
น้ำท่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ไม่แพ้การตกลงมาของน้ำ มนุษย์ใช้การชลประทานผันน้ำจากแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดอื่นๆ มาใช้ในการเกษตร แม่น้ำและทะเลเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เปิดโอกาสมนุษย์ได้ท่องเที่ยวและทำการค้าขาย การชะล้างและการกัดกร่อนพื้นดินของน้ำทำให้เกิดภูมิประเทศ อาทิ หุบเขาและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์ (สำหรับทำก้อนหอม)1. แป้งข้าวสาลี 250 ก. 2. แป้งข้าวโพด 100 ก.3. สารส้ม 5 ก. 4. ผงฟู 5 ก.5. เกลือป่น 10 ก.6. น้ำสะอาด 230 ก.7.น้ำมันหอมระเหย 10 ซีซี (ใช้สองกลิ่น ตะไคร้และส้ม)8.ที่ตวง9.ภาชนะ
วิธีการทดลอง(ทำก้อนหอม)1. เตรียมอุปกรณ์2. ตวงสารตามปริมาณที่กำหนด3.นำส่วนผสมทั้งหมดเทลงภาชนะที่เตรียมไว้4. นวดให้สารเป็นเนื้อเดียวกัน5.นำเนื้อแป้งที่ได้ ไปใส่แม่พิมพ์ หรือ ปั้นตามแบบที่ต้องการแต่ต้องอยู่ในขนาดที่เหมาะสม6. นำไปตากแดดให้แห้งสนิท(ทดสอบประสิทธิภาพ)7. ทดสอบประสิทธิภาพ โดยนำไปไว้ที่มุมอับของสถานที่ต่างๆหรือที่ๆยุงชุม8. คอยสังเกตแล้งบันทึกผล9. ทำแบบเดิมอีกครั้ง แต่เปลี่ยนกลิ่น 10 . สรุปผลการทดสอบที่ได้
บทที่ 4 ผลการทดลอง

ผลการทดลอง

ชนิดของกลิ่น
สถานที่ทดสอบ
ผลที่ได้
ตะไคร้
มุมอับภายในบ้าน
ปริมาณยุงลดลงอย่างรวดเร็วและลดลงในปริมาณมาก
ส้ม
มุมอับภายในบ้าน
ปริมาณยุงลดลงบ้าง แต่ น้อยกว่าตะไคร้


บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า กลิ่นจากธรรมชาติที่ช่วยในการไล่ยุงอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือกลิ่นตระไคร้ ส่วนกลิ่นส้มนั้นมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงค่อนข้างมากแต่น้อยกกว่าตะไคร้

อ้างอิง :
www.google.co.th
หนังสือ เกษตรกรรมธรรมชาติ หน้าที่ 36

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น