วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงสัตว์


สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12 > หลักการเลี้ยงสัตว์
หลักการเลี้ยงสัตว์



สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12


หลักการเลี้ยงสัตว์ โดย การเลี้ยงปศุสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์มีปัจจัยที่สำคัญ ๔ ประการด้วยกัน คือ ๑. พันธุ์สัตว์ ๒. อาหารสัตว์ ๓. การจัดการและดูแล ๔. โรคสัตว์
[
ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หัวข้อ
พันธุ์สัตว์
อาหารสัตว์
การจัดการดูแล
โรคสัตว์
พันธุ์สัตว์
เกษตรกรไทยยังไม่ให้ความสำคัญต่อพันธุ์สัตว์ที่นำมาใช้เลี้ยงมากนัก จึงมิได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพทางพันธุกรรมของสัตว์ที่นำมาใช้เลี้ยง โดยเฉพาะในโคและกระบือ ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อหาสัตว์ที่มีคุณภาพดีมาเลี้ยงมากขึ้นโดยเฉพาะในไก่ เป็ด และสุกร เกษตรกรจำนวนมากยังนิยมตอนโคและกระบือที่มีขนาดใหญ่และรูปร่างดีเพื่อนำไปใช้งาน คงปล่อยให้โคและกระบือตัวผู้ขนาดเล็กไว้คุมฝูงจึงทำให้ลูกโคและกระบือที่คลอดออกมาระยะหลังๆ มีขนาดเล็กลง ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จึงควรที่จะได้เลือกหาซื้อสัตว์พันธุ์ดีมาเลี้ยง ไม่ใช่สัตว์อะไรก็ได้ และควรจะได้สงวนสัตว์ที่ดีมีรูปร่างใหญ่ให้นมมาก ให้เนื้อมาก ให้ลูกดก ให้ลูกบ่อย มีความทนทานต่อโรคเก็บไว้เลี้ยงทำพันธุ์ โดยเฉพาะควรจะเปลี่ยนวิธีตอนสัตว์เสียใหม่โดยให้ตอนตัวเล็กๆ ให้หมด และเก็บตัวใหญ่เอาไว้ทำพันธุ์ [
กลับหัวข้อหลัก]
[
ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
อาหารสัตว์
เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ให้ความสนใจต่อการให้อาหารโคและกระบือเท่ากับผู้เลี้ยงสุกร ไก่ และเป็ด โดยคิดเอาว่าโค และกระบือหาอาหารกินเองได้ ไม่จำเป็นต้องจัดหาอาหารให้ แม้แต่สุกร ไก่ และเป็ดเอง แม้รู้ว่าต้องจัดหาอาหารให้ก็ยังไม่รู้ว่าระยะใดสัตว์ต้องการอาหารชนิดใด มากน้อยเท่าใดจึงจะเหมาะสม เกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการให้อาหารสัตว์ และจัดหาอาหารมาให้สัตว์กินให้ถูกต้องกับความต้องการจึงจะทำให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตได้ดี ให้นมมากให้ลูกทุกปี หรือให้ลูกดก และไม่เป็นโรคต่างๆ เนื่องจากการขาดอาหาร อาหารหลักที่สำคัญๆ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรจะได้ให้ความสนใจ คือ ๑. อาหารโปรตีน อาหารโปรตีนมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การให้นมการให้เนื้อ และการผสมพันธุ์ ซึ่งมีอยู่มากในปลาป่น เนื้อป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว กากเมล็ดฝ้าย และในพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน และถั่วฮามาตา เป็นต้น ๒. อาหารพลังงาน อาหารแป้งเมื่อกินเข้าไปแล้วก็ถูกเปลี่ยนรูปเป็นอาหารพลังงาน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ทำงานตามปกติ เช่น การเคลื่อนไหว การเคี้ยว การย่อยและอื่นๆ อาหารแป้งหรืออาหารพลังงานมีมากในปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และรำข้าว เป็นต้น ๓. อาหารแร่ธาตุ อาหารแร่ธาตุนับว่ามีความสำคัญต่อระบบโครงสร้างหรือกระดูกโดยเฉพาะธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสซึ่งมีมากในกระดูกป่นหรือเปลือกหอยป่น นอกจากนี้สัตว์ก็ยังต้องการแร่ธาตุอื่นๆ อีก สำหรับระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายและระบบการผสมพันธุ์ เช่น ธาตุ-เหล็ก ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี แมงกานีส แมกนีเซียม ซีลีเนียม โซเดียม และโพแทสเซียมเป็นต้น ซึ่งเกษตรกรจะต้องจัดหาให้สัตว์กินเพิ่มเติมทั้งในรูปเกลือธรรมดาและเกลือประเภทพวกแร่ธาตุปลีกย่อย ซึ่งอาจเป็นผงสำหรับผสมอาหารสัตว์ หรือทำเป็นก้อนสำหรับให้สัตว์เลียกิน ๔. วิตามิน สัตว์โดยทั่วๆ ไปต้องการวิตามินสำหรับการเจริญเติบโตและการผสมพันธุ์ แม้ว่าสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้องจะสามารถสังเคราะห์วิตามินบีเองได้วิตามินที่สำคัญที่ควรให้แก่สัตว์ เลี้ยง ก็คือ วิตามินเอ ดี บีต่างๆ เค อี และซีเกษตรกรจำเป็นต้องจัดหาวิตามินให้สัตว์กินตามความเหมาะสมตามชนิดของสัตว์ และความต้องการในระยะต่างๆ ของการเจริญ-เติบโตหรือการผสมพันธุ์ ๕. น้ำ สัตว์เลี้ยงนอกจากต้องการอาหารแล้วก็ยังต้องการน้ำด้วย สัตว์จะตายในเวลาอันรวดเร็วหากว่าขาดน้ำ แต่จะยังมีชีวิตอยู่ได้นานถ้าขาดอาหารน้ำนับว่ามีความสำคัญต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหมุนเวียนของโลหิตและระบบขับถ่าย จึงควรที่เกษตรกรจะต้องดูแลให้สัตว์มีน้ำสะอาดกินตลอดเวลา ตามปริมาณความต้องการของสัตว์นั้นๆ [
กลับหัวข้อหลัก]
มันสำปะหลัง อาหารที่ให้พลังงานแก่สัตว์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การจัดการดูแล
สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกับคนที่ต้องการให้เจ้าของดูแล จึงจะสามารถเจริญเติบโตและให้ผลิตผลหรือการสืบพันธุ์ที่ดีได้สิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความดูแลให้แก่สัตว์ก็คือ ๑. เรือนโรง การเลี้ยงสัตว์ต้องมีเรือนโรงให้สัตว์อยู่ตามความเหมาะสม มิใช่เลี้ยงตามใต้ถุนบ้านหรือเลี้ยงปล่อย เพื่อสัตว์จะได้มีที่อยู่หลับนอนตามความเหมาะสม ไม่ถูกสัตว์อื่นหรือคนมารบกวน คอกจะต้องสะอาดและมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ มีการตักมูลสัตว์ออกทิ้งเป็นประจำไม่ให้มีการหมักหมม ๒. การให้อาหารและน้ำ การเลี้ยงสัตว์ที่ดีจำเป็นต้องมีการให้ อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด (ยกเว้นกรณีที่ให้ตลอดเวลาซึ่งก็ต้องดูแลให้ อาหารและน้ำตลอดเวลา) ไม่ควรเปลี่ยนเวลาให้อาหารและน้ำแก่สัตว์หากไม่จำเป็น เพราะจะทำให้สัตว์เกิดความเครียด และเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการให้น้ำนม ให้ไข่ ตลอดจนการผสมพันธุ์ ๓. การจัดการเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ การจัดการผสมพันธุ์ตามระยะที่เหมาะสมของการผสมพันธุ์จะทำให้สัตว์ตั้งท้องและมีลูกมากขึ้น ปริมาณหรืออัตราส่วนของตัวผู้ และตัวเมียก็มีความสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การผสมติดของสัตว์ในฝูง การคัดเลือกสัตว์ที่เป็นหมัน ผสมไม่ติดหรือติดยาก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำในการเลี้ยงสัตว์ แทนที่จะเลี้ยงสัตว์แล้วไม่ได้ผลตอบแทน สัตว์ที่ให้ผลิตผลน้อย เช่น นมน้อย ไข่น้อย หรือลูกครอกเล็กก็ควรจะได้ทำการคัดทิ้งแทนที่จะทนเลี้ยงต่อไปซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงขาดทุน ๔. การรีดนมและการจัดการอื่นๆ การรีดนมเป็นเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นประจำจะช่วยทำให้ผู้เลี้ยงได้น้ำนมมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงเวลารีดนมหากไม่จำเป็น การจัดการอื่นๆ เช่น การทำรางกันไม่ให้แม่สุกรทับลูกสุกรเมื่อลูกสุกรสยังเล็ก หรือการแยกสัตว์เล็กออกเลี้ยงต่างหากตามอายุหรือความเหมาะสม แทนที่จะปล่อยเลี้ยงรวมฝูง ก็นับว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้เลี้ยงมีกำไรหรือขาดทุนได้เช่นกัน[
กลับหัวข้อหลัก]
โรงเรือนของสุกรแม่พันธุ์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคสัตว์
โรคของสัตว์เลี้ยงยังนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรา ปัจจุบันนี้ เพราะมีโรคระบาดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตสัตว์และเศรษฐกิจหลายโรค ผู้เลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องเรียนรู้สาเหตุ อาการการป้องกัน และการรักษาโรคสัตว์นั้นด้วยตนเองสำหรับใช้ดำเนินการในเบื้องต้น เพื่อจักได้แก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ปัจจุบันมีโรคหลายโรคที่สามารถทำการป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงเป็นการล่วงหน้า เกษตรกรจำนวนมากยังเข้าใจผิดคิดว่าวัคซีนมีไว้สำหรับรักษาโรค และจะไม่ทำวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงจนมีโรคเกิดแล้วจึงติดต่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไปทำการฉีดวัคซีนให้ จึงทำให้โรคระบาดต่างๆ ยังเป็นปัญหาอยู่ทั่วไป แนวทางในการป้องกันโรคในหลักการใหญ่ๆ ที่ยึดถือปฏิบัติกันก็คือ ๑. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตวล่วงหน้า วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการป้องกันมิให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคระบาดตายก็คือ การทำวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ล่วงหน้าก่อนที่สัตว์จะป่วยเป็นโรคเพราะวัคซีนมีไว้สำหรับป้องกันโรคมิใช่รักษาโรค อย่างไรก็ตามวัคซีนช่วยให้โอกาสที่สัตว์ป่วยเป็นโรคน้อยลง แต่มิได้หมายความว่าเมื่อทำวัคซีนแล้วสัตว์จะไม่เป็นโรค โดยทั่วๆ ไปสัตว์ที่ทำวัคซีน ๑๐๐ ตัวจะไม่เป็นโรคประมาณ ๗๐-๘๐ ตัว อีก ๒๐-๓๐ ตัวอาจจะเป็นโรคได้ถ้าสัตว์อ่อนแอหรือมีเชื้อโรคเข้าไปมากๆ จึงควรที่เกษตรกรจะเข้าใจตามนี้ด้วย ๒. การป้องกันโรคทางอื่น การป้องกันโรคทางอื่นๆ ที่ควรจักได้ทำควบคู่กับการทำวัคซีนก็คือ ๒.๑ การจัดหาที่ให้สัตว์อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ปนกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ของชาวบ้าน ๒.๒ การจัดทำรั้วกั้นโดยรอบเพื่อมิให้สัตว์หรือคนเข้าไปในคอกสัตว์ ๒.๓ การไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในคอก เพื่อป้องกันการนำโรคจากภายนอกเข้ามา ๒.๔ การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคภายในคอกและทางผ่านก่อนเข้าคอก ๒.๕ การให้อาบน้ำเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวก่อนเข้าคอก หากจำเป็นต้องทำ ๒.๖ การไม่นำอาหารจากที่อื่นเข้าไปกินในคอก ๓. การคัดเลือกผสมพันธุ์สัตว์ให้มีความต้านทานโรค ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่าการคัดเลือกผสมพันธุ์สัตว์ให้มีความต้านทานโรคบางโรค อาจจะทำได้แม้จะไม่ได้ผลเต็มที่แต่ก็ช่วยให้โอกาสสัตว์เป็นโรคหรือได้รับอันตรายจากโรคน้อยลง เช่น โคที่มีเลือดพันธุ์บราห์มันซึ่งตามปกติจะพบว่ามีความทนทานต่อโรคไข้เห็บ เมื่อเอาวัวพันธุ์นี้มาผสมกับโคนมพันธุ์แท้หรือโคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศ ลูกผสมที่เกิดมาจะมีความทนทานต่อโรคนี้ได้ดีขึ้น ตามอัตราส่วนของเลือดโคบราห์มันที่มีอยู่ในโคลูกผสมนั้น ถ้ามีมากก็มีความคุ้มโรคมาก เป็นต้น (ดูเพิ่มเติมเรื่อง การบริโภคและอุตสาหกรรมนมหมวดเดียวกัน เล่มเดียวกัน) [
กลับหัวข้อหลัก]
การเจาะเลือดตรวจบลูเซลโลซิสโคนม

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
บรรณานุกรม• นายทิม พรรณศิริ[กลับหัวข้อหลัก]

function google_ad_request_done(google_ads) {
var s = '';
var i;
if (google_ads.length == 0) {return;}
if (google_ads.length == 1) {
// Change AFC Template hear
s += '

s += '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].line1 + '
- ' +
google_ads[0].line2 + ' ' +
google_ads[0].line3 + '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].visible_url + '
';
} else if (google_ads.length > 1) {
// Change AFC Template hear
s += '
for(i = 0; i google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].line1 + '
- ' +
google_ads[i].line2 + ' ' +
google_ads[i].line3 + '
google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].visible_url + '
';
}
}
document.write(s);
return;
}
google_ad_client = 'pub-3354360919676749'; // sanook.com client_id (pub-3354360919676749)
google_ad_channel = '5610605354+1124494271'; // guru.sanook.com (JS-guru-encyclopedia 5610605354 , JS-guru-encyclopedia.middle 1124494271 )
google_ad_output = 'js';
google_max_num_ads = '3';
google_ad_type = 'text';
google_feedback = 'on';
//google_adtest = 'on';


google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
Ads by Google
น้ำหอม ดึงดูดทางเพศ - เพิ่มรัก สร้างเสน่ห์ ปลุกอารมณ์ได้ เห็นผลแน่นอน ของแท้ นำเข้าจากยุโรป
www.sanaeh.com
ประเมินเครดิตของคุณ ฟรี - รวมบัตรเครดิต-สินเชื่อทุกธนาคาร แบบ Real-time ที่นี่
www.silkspan.com
อาหาร ลดความอ้วน แบบถาวร - ลดทั้งหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก รับชุดทดลองซิคะ รับรอง! ไม่ผิดหวัง+
www.Health2Shape.com
บทความอื่น ๆ ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ


บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มอื่น
การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะการพัฒนาฝีมือแรงงานและอุปกรณ์การผลิตการเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรความเสื่อมโทรมของพื้นที่ต้นน้ำลำธารโครงการตามพระราชดำริด้านการพัฒนาปัจจัยการผลิตวิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมศิลปะและเทคนิคในการวางแผนและปฏิบัติการตามแผนสมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศลสารเคมีฝนหลวงสารานุกรมเล่มอื่นๆ ในประเทศไทย
สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษกสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 6สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 26สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
>> ดูบทความ ทั้งหมด
>> สารานุกรมไทยฯ ทั้งหมด


' +
' ' +
'' +
'' +
'';
} else if (google_ads[0].type == "image") {
s += '
google_info.feedback_url + '\" style="text-decoration:none; color: #484848; float:left">Ads by Google google_ads[0].visible_url + '\';return true" title="go to ' +
google_ads[0].visible_url + '" onmouseout="window.status=\'\'" href="http://www.blogger.com/'%20+%20google_ads[0].url%20+%20'" target=_top>
';
} else if (google_ads[0].type == "html") {
s += google_ads[0].snippet;
} else {
if (google_ads.length == 1) {
// Change AFC Template hear
s += '

s += '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].line1 + '
' +
google_ads[0].line2 + ' ' +
google_ads[0].line3 + '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].visible_url + '
';
} else if (google_ads.length > 1) {
// Change AFC Template hear
s += '
for(i = 0; i google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].line1 + '
' +
google_ads[i].line2 + ' ' +
google_ads[i].line3 + '
google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].visible_url + '
';
}
}
}
document.write(s);
return;
}
google_ad_client = 'pub-3354360919676749'; // sanook.com client_id (pub-3354360919676749)
google_ad_channel = '5610605354+9894749106'; // guru.sanook.com (JS-guru-encyclopedia 5610605354 , JS-guru-encyclopedia.botton 9894749106 )
google_ad_output = 'js';
google_max_num_ads = '5';
google_ad_type = 'text_html';
google_image_size = '300x250';
google_skip = '3';
google_feedback = 'on';
//google_adtest = 'on';
// -->
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
Ads by Google

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น