วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

101

{ แผ่นที่ 1 ปก }
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง : ก้อนหอมไล่ยุง
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
ปีการศึกษา 2552

{ แผ่นที่ 2 ต่อจากปก }
โครงงานเรื่อง : ก้อนหอมไล่ยุงพกพา
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ชินกฤต ตั้งคุณาพิพัฒน์ ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 2
2. ด.ญ.ภัณฑิรา ภักดีทศพล ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 10
3. ด.ญ.สราลี ภัทราวานิชานนท์ ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 15
4. ด.ญ.พัชศิริณันท์ แพรวพรายกุล ชั้น : G.8/6 เลขที่ : 20
อาจารย์ที่ปรึกษา
ม.ณัฐกิตติ์ คลังจันทร์
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิทยาศาสตร์


บทคัดย่อ : โครงงานเรื่องก้อนหอมไล่ยุง
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ก้อนหอมไล่ยุง นี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลิ่นต่างๆจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง การจัดทำโครงงานนี้ขึ้น มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าและทดลองดังนี้ ขั้นแรกนำ น้ำมันหอมระเหย ที่เลียนแบบกลิ่นธรรมชาติจำนวน 2 กลิ่นได้แก่ กลิ่นตะไคร้และส้ม มาทำให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่แน่นอนและไม่คลาดเคลื่อน สามารถทดสอบได้ง่าย จากนั้นปรับปรุงน้ำมันหอมระเหยให้อยู่ในรูปของก้อนหอมดับกลิ่น จากผลการทดลองพบว่า กลิ่นตะไคร้มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงมากกว่ากลิ่นส้ม โดยวัดจากปริมาณยุงในสถานที่ทดสอบ ซึ่งเห็นได้ถึงความแตกต่างทำให้เราทราบว่าการจะไล่ยุงนั้นใช้ตะไคร้ได้ผลที่ดีกว่า เนื่องจากตระไคร้มีกลิ่นที่แรง และมีสาร camphor (2,3), cineol (4-6), eugenol (7-10), linalool (11), citronellal,citral (8) จึงทำให้สามารถไล่ยุงได้


{ แผ่นที่ 3 }
กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ณัฐกิตติ์ คลังจันทร์ ที่ให้คำปรึกษาตลอดมาในช่วงที่จัดทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้น ขอขอบพระคุณ ผู้ปกครองของสมาชิกทุกคนในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการจัดหาอุปกรณ์ รวมทั้งเอื้อเฟื้อสถานที่ ในการจัดทำ และสุดท้าย ที่ขาดไม่ได้ ขอขอบคุณสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ที่ร่วมือ รวมแรง และร่วมใจ อย่างสามมัคคีกันในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้น จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี


คณะผู้จัดทำ
11 กันยายน 2552

{ แผ่นที่ 4 สารบัญ }
สารบัญ

เรื่อง หน้า

บทที่ 1 บทนำ 1
- ที่มาและความสำคัญ
- จุดมุ่งหมายของการศึกษา
- สมมติฐาน
- ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ขอบเขตการทดลอง
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2-5

บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง 6

บทที่ 4 ผลการทดลอง 7

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง 8
บทที่ 1 : บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องทำกิจกรรมมากมาย ในบางครั้งเราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในที่อับๆ หรือมีน้ำขัง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของยุงนานาชนิด และอาจเป็นที่มาของโรคร้ายด้วย ดังนั้น เพื่อความสะดวกและป้องกันโรคที่มากับยุง เราจึงคิดค้นที่จะประดิษฐ์ก้อนหอมไล่ยุง โดยทำให้อยู่ในขนาดที่พอเหมาะและสะดวกในการพกพาติดตัวไปทุกที่

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาความสามารถของกลิ่ง ตะไคร้และส้ม
2. เพื่อทดสอบว่ากลิ่นแบบใดสามารถไล่ยุงได้ดีที่สุด

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ศึกษากลิ่นจากธรรมชาติ คือ ตะไคร้และส้ม

ตัวแปรที่ทำการศึกษา
ตัวแปรต้น : กลิ่นตะไคร้ กลิ่นส้ม
ตัวแปรตาม : ปริมาณยุงเมื่อนนำกลิ่นไปตั้ง
ตัวแปรควบคุม : ระยะเวลา สถานที่ ปริมาณที่ใช้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าใหม่ๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
2. ได้ทราบวิธีไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นอันตรายต่อตัวเรา
บทที่ 2 : เอกสารที่เกี่ยวข้อง

สารส้ม หรือ Alum มาจากภาษาละตินคำว่า.. "Alumen" แปลว่า.. "สารที่ทำให้หดตัว (astringent)" ซึ่งเป็นเกลือเชิงซ้อนของสารประกอบ ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ในปัจจุบัน นิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัวทาที่รักแร้กันมากเพราะไม่ทำให้รักแร้ดำ มีหลายแบบ เช่น แบบแท่ง, แบบผงแป้ง, แบบโรลออน และแบบสเปรย์ ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเหมาะสมที่ผู้ใช้จะเลือกซื้อ
สรรพคุณ
สารส้มใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำเพื่อให้สิ่ง
สกปรกตกตะกอน สามารถใช้ในการ
กำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน
ดับกลิ่นได้ 100% และนานถึง 24 ชั่วโมง
และสามารถใช้กำจัดกลิ่นเท้าได้

ผงฟูทำขนมปัง เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็น
ด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผนึกเกลือ กรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และcitrate ส่วนกรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นกรดอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ baking powder ในปัจจุบันเรียกว่าdouble acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง กรดเกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าbaking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting
การใช้งาน
ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก
แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ

เกลือ ในทาง
เคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก (ionic compound) ประกอบด้วยแคตไอออน (cation : ไอออนที่มีประจุบวก) และแอนไอออน (anion : ไอออนที่มีประจุลบ) ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสิทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) และไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยาด้วยกัน
ลักษณะของเกลือแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.เกลือเม็ด ผลิตโดยชาวนาเกลือทะเลและผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีตาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การดองผักผลไม้ และไอศกรีม
2.เกลือป่น ผลิตโดยโรงงานเกลือป่นที่ซื้อเกลือเม็ดจากชาวนาเกลือมาแปรรูปเป็นเกลือป่น และผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีการต้ม เกลือป่นที่ไม่ต้องผ่านการแปรรูปนิยมทำเป็นเกลือบริโภคตามบ้านเรือน

น้ำมันหอมระเหย เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะเห็นต่อมน้ำมันได้ชัดในส่วนของใบและเปลือกผลของพืชจำพวกส้ม น้ำมันหอม ระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชได้แก่ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
พืชสร้างน้ำมันหอมระเหยมาเพื่อ :
กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูด แมลงมาผสมเกสร น้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆของพืชเชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเอง จากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลายพืชนั้นๆเช่นแมลง เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรค
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหย
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60วงศ์ ที่สำคัญได้แก่ Labiatae(มินต์) , Rutaceae(ส้ม), Zingiberaceae(ขิง), Gramineae(ตะไคร้)

ตระไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน)เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.ตะไคร้กอ
2.ตะไคร้ต้น
3.ตะไคร้หางนาค
4.ตะไคร้น้ำ
5.ตะไคร้หางสิงห์
6.ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
สรรพคุณ
ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อนท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ
ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดใน
สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมดซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด

น้ำ เป็น
ของเหลวชนิดหนึ่ง น้ำเป็นของเหลวที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้ในหลายๆ สถานที่ อาทิ ทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และในหลายๆ รูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน ลูกเห็บ เมฆ และไอน้ำ
รูปแบบของน้ำ
น้ำมีหลายรูปแบบ เช่น
ไอน้ำและเมฆบนท้องฟ้า คลื่นและก้อนน้ำแข็งในทะเล ธารน้ำแข็งบนภูเขา น้ำบาดาลใต้ดิน ฯลฯ น้ำเปลี่ยนแปลงรูปแบบ สถานะ และสถานที่ของมันตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นไอ ตกลงสู่พื้นดิน ซึม ชะล้าง และไหล ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำบนผิวโลกเรียกว่าวัฏจักรของน้ำ
เนื่องจากการตกลงมาของน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกษตรและต่อมนุษย์โดยทั่วไป มนุษย์จึงเรียกการตกลงมาของน้ำแบบต่างๆ ด้วยชื่อเฉพาะตัว ฝน ลูกเห็บ หมอก และน้ำค้างเป็นการตกลงมาของน้ำที่พบได้ทั่วโลก แต่หิมะและน้ำค้างแข็งมีเฉพาะในประเทศเขตหนาว รุ้งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อละอองน้ำในอากาศต้องแสงอาทิตย์ในมุมที่เหมาะสม
น้ำท่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ไม่แพ้การตกลงมาของน้ำ มนุษย์ใช้การชลประทานผันน้ำจากแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดอื่นๆ มาใช้ในการเกษตร แม่น้ำและทะเลเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เปิดโอกาสมนุษย์ได้ท่องเที่ยวและทำการค้าขาย การชะล้างและการกัดกร่อนพื้นดินของน้ำทำให้เกิดภูมิประเทศ อาทิ หุบเขาและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์ (สำหรับทำก้อนหอม)1. แป้งข้าวสาลี 250 ก. 2. แป้งข้าวโพด 100 ก.3. สารส้ม 5 ก. 4. ผงฟู 5 ก.5. เกลือป่น 10 ก.6. น้ำสะอาด 230 ก.7.น้ำมันหอมระเหย 10 ซีซี (ใช้สองกลิ่น ตะไคร้และส้ม)8.ที่ตวง9.ภาชนะ
วิธีการทดลอง(ทำก้อนหอม)1. เตรียมอุปกรณ์2. ตวงสารตามปริมาณที่กำหนด3.นำส่วนผสมทั้งหมดเทลงภาชนะที่เตรียมไว้4. นวดให้สารเป็นเนื้อเดียวกัน5.นำเนื้อแป้งที่ได้ ไปใส่แม่พิมพ์ หรือ ปั้นตามแบบที่ต้องการแต่ต้องอยู่ในขนาดที่เหมาะสม6. นำไปตากแดดให้แห้งสนิท(ทดสอบประสิทธิภาพ)7. ทดสอบประสิทธิภาพ โดยนำไปไว้ที่มุมอับของสถานที่ต่างๆหรือที่ๆยุงชุม8. คอยสังเกตแล้งบันทึกผล9. ทำแบบเดิมอีกครั้ง แต่เปลี่ยนกลิ่น 10 . สรุปผลการทดสอบที่ได้
บทที่ 4 ผลการทดลอง

ผลการทดลอง

ชนิดของกลิ่น
สถานที่ทดสอบ
ผลที่ได้
ตะไคร้
มุมอับภายในบ้าน
ปริมาณยุงลดลงอย่างรวดเร็วและลดลงในปริมาณมาก
ส้ม
มุมอับภายในบ้าน
ปริมาณยุงลดลงบ้าง แต่ น้อยกว่าตะไคร้


บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า กลิ่นจากธรรมชาติที่ช่วยในการไล่ยุงอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือกลิ่นตระไคร้ ส่วนกลิ่นส้มนั้นมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงค่อนข้างมากแต่น้อยกกว่าตะไคร้

อ้างอิง :
www.google.co.th
หนังสือ เกษตรกรรมธรรมชาติ หน้าที่ 36

สเปรย์หอมตะไคร้หอม
-->
ปีการศึกษา
: 2552
ชื่อผลงาน
: สเปรย์หอมตะไคร้หอม
ประเภทผลงาน
: สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประเภท : ผลิตภํณฑ์สำเร็จรูป
วิทยาลัย
: วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ จังหวัด : อุตรดิตถ์ ภาค : เหนือ
คณะผู้จัดทำ
1. นางสาวนวพร อ่อนดี
2. นางสาวจุไรรัตน์ วรรณวงษ์กา
3. นางสาวปัทมา อุททา
4. นางสาวยุวดี คำพล
5. นายอภิวัฒน์ พัดทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นางสาวอำนวย วราหะ
เบอร์โทร. 055-412795
ประโยชน์และคุณลักษณะ น้ำตะไรร้ไล่ยุงได้ ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำง่าย ราคาถูก ใช้เวลาไม่นานในการผลิต สเปรย์ตะไคร้หอมมีกลิ่นสดชื่น น้ำสีเขียว เป็นสีที่ได้จากต้นตะไคร้หอมสดชื่นจากธร
1. ที่มาของการคิดค้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
ปัจจุบันคนไทยส่วนมากจะไม่เห็นคุณค่าของสมุนไพร กลุ่มข้าพเจ้าจึงจัดยกตัวอย่างตะไคร้หอมในการไล่ยุง โดยผลิตสเปรย์ไล่ยุงจากตะไคร้หอม

2. ทฤษฎี/หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการคิดค้น
ใช้หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงโดยนำสมุนไพรตามภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการผลิตสเปรย์ไล่ยุงจากตะไคร้หอม

3. วัตถุประสงค์ในการใช้คิดค้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อไบกอน หรือสินค้าตัวอื่น ๆ โดยหันมาใช้สมุนไพรในครัวเรือนหรือสมุนไพรที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านของเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันยุงและแมลง มดต่าง ๆ ที่มารบกวนและทำให้มีรายได้ในระหว่างภาคเรียน

4. คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์
คุณสมบัติของสเปรย์ตะไคร้หอม สามารถป้องกันยุงและแมลงกัดซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและยังมีกลิ่นหอมอีกด้วยไม่ต้องไปซื้อสินค้าในราคาแพง

5. ขั้นตอนการทำงานพร้อมกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
1. นำตะไคร้มาล้างสะอาดและหั่นซอยบาง ๆ
2. นำตะไคร้ที่ล้างแล้วมาใส่ครกโขลกให้ละเอียด
3. นำตะไคร้มาปั้นให้ละเอียดแล้วมาใส่ผ้าขาวบาง ๆ มาคั่นเอาน้ำตะไคร้ 1 ส่วน น้ำ 3 ส่วน ผสมกัน
4. ก็จะได้นำตะไคร้ไว้สำหรับทาตามแขนตามขา
5. แล้วบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
วิธีใช้
ฉีดสเปรย์ ตะไคร้หอมในมุมบ้านหรือบริเวณที่ต้องการป้องกันยุง มด แมลงต่าง ๆ ที่มารบกวนจะช่วยในการป้องกันพวกยุง มด และแมลงได้ดี

6. วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการคิดค้นและผลิต
1. ภาชนะหรือขวดสเปรย์ จำนวน 3 ขวด ราคา 35.- บาท
2. หม้อ สาก ตะไคร้ เขียง
3. น้ำ มีด เตาแก๊ส ช้อน ถ้วย

7. งบประมาณที่ใช้ในการคิดค้นและผลิต จำนวน 35.- บาท

โครงงานเศรษฐกิจพอเพียงกับเทียนไขไล่ยุง
โครงงาน เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทยกับเทียนไขไล่ยุง ผู้จัดทำ เด็กชายอนันต์ อุดรรุ่ง เด็กหญิงเบญจมาศ ไชยสัตย์ เด็กหญิงสุภางค์ ฤทธิ์สุวรรณ ครูที่ปรึกษา นายมานิต เหลื่อมกุมมาร นางนิภาพร ภูผาใจ ผลงาน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การประกวดโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในงานมหกรมมเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 18-22 กันยายน 2549 ที่มาและความสำคัญ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นโครงการในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลว่ามีความเป็นอยู่อย่างเพียงพอไม่ฟุ่มเฟือย สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองและการพึ่งพาธรรมชาติตลอดจนการดำเนินการอย่างลงตัว จากแนวความคิดดังกล่าวทำให้พวกเราได้คิดหาวิธีการที่จะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทของในหลวง โดยศึกษาถึงการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงในเรื่องของพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในสภาวะวิกฤติ ในด้านเศรษฐกิจ การปลูกพืชผักสวนครัวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้อยู่อย่างพอเพียงได้ ในพืชผักสวนครัวประกอบด้วยพืชผักนานาชนิดเช่น ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะเขือ กะเพรา แมงลัก โหรพา ยี่หร่า เป็นต้น พืชผักดังกล่าวเป็นพืชที่เป็นประโยชน์ในด้านการประกอบอาหาร และจากการศึกษาเพิ่มเติมเราก็พบว่า พืชผักบางชนิดมีสารบางอย่างที่สามารถไล่แมลง โดยเฉพาะยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคร้ายที่สามารถคร่าชีวิตของคนได้ นั่นก็คือโรคไข้เลือดออก จึงถือได้ว่าเป็นปัญหาและโรคที่ร้ายแรง แต่เราก็สามารถป้องกันได้โดยการกำจัดตัวพาหะนำโรค นั่นก็คือยุง เราจึงได้คิดหาวิธีที่จะกำจัดยุงด้วยวิธีการธรรมชาติและสอดคล้องกับทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบกับโรงเรียนของพวกเราอยู่ในบริเวณวัดเห็นมีเศษเทียนจากการประกอบพิธีทางศาสนาที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร เราจึงได้คิดที่จะนำเอาเศษ เทียนเหล่านั้นมาใช้ หล่อ เป็นเทียนโดยได้นำเอาพืชผักสวนครัวสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้มาผสมลงในการหล่อเทียน เพื่อใช้เป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุง วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อศึกษาผักสวนครัวที่สามารถไล่ยุงได้และแมลงได้ 2. เพื่อศึกษาการใช้เทียนไขสมุนไพรไล่ยุง เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ครั้งนี้ กลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. สมุนไพรที่ใช้ในการไล่ยุง 2. การหล่อเทียน ขั้นตอนในการดำเนินการ 1. ศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องผักสวนครัวสมุนไพร 2. จัดทำแม่พิมพ์ 3. หล่อเทียนตะไคร้หอม ใบมะกรูด ข่า 4. สรุปผลการทดลองใช้ สรุป อภิปรายผล จากผลการศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวผักสวนครัวสมุนไพร เราก็พบว่าพืชผักที่สามารถไล่ยุงได้ มีตะไคร้หอม มะกรูด และ ข่า เมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร โดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและ ความสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกลมและทรงกระบอก ทำให้เราพิสูจน์ว่าเมื่อปริมาตรและความสูงที่เท่ากัน รูปทรงที่สามารถไล่ยุงได้นานที่สุดคือ รูปทรงกรวย กล่าวคือ การนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ในเรื่องของการใช้เศษเทียนไข สมุนไพรพื้นบ้านมาผสมกันแล้วใช้เป็นยาจุดไล่ยุง รูปทรงเรขาคณิตมีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง ซึ่งผลการทดลองดังตารางที่ 1-3 และรูปทรงที่มีระยะเวลาในการหลอมละลายหรือไล่ยุงได้นานที่สุดได้แก่รูปทรงกรวย รูปทรงพีระมิด ทรงกระบอกและรูปทรงปริซึมตามลำดับ ทำให้เราเลือกรูปทรงที่จะนำมาเป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุงและสามารถประหยัดทรัพยากรได้มากที่สุด ข้อเสนอแนะ 1. สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้ 2. สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นมาหลอมแทนเทียนได้ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ประโยชน์ของพืชผักสวนครัวสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงและแมลง 2. ทราบว่ารูปทรงเรขาคณิตที่ใช้ในการไล่ยุงได้นานที่สุดคือ กรวย พีระมิด ทรงกระบอกและปริซึม ตามลำดับ 3. ได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
« Back

โครงงานวิทย์

โครงงานเศษเทียนผสมสมุนไพรไล่ยุง ชื่อโครงงาน เศษเทียนผสมสมุนไพรไล่ยุง
ผู้จัดทำ นายกิตติศักดิ์ ญาณกาย
นางสาวอรวรรณ ภูทองแหลม
นางสาวอรสุดา พงษ์ละออ
ครูที่ปรึกษา นางสุภาพรรณ ดาษถนิม
นางสุพรรณี ถนอมสงัด
ผลงาน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2549

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเป็นการนำเศษเทียนที่เหลือใช้แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
2. เพื่อศึกษาว่าเศษเทียนผสมกับพืชสมุนไพรไล่ยุงได้
3. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพรกับการไล่ยุง

สมมติฐาน
1. เศษเทียนผสมกับพืชสมุนไพรไล่ยุงได้
2. เศษเทียนผสมใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง สามารถไล่ยุงได้ดีกว่าเศษเทียนผสมเปลือกมะกรูดปั่นตากแห้งและเศษเทียนผสมเปลือกส้มปั่นตากแห้ง

ขอบเขตการศึกษา
เศษเทียนที่หลอมเหลวแล้วผสมใบตะไคร้หอม ปั่นตากแห้ง เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง และ เปลือกส้มปั่นตากแห้ง

อุปกรณ์ในการทดลอง
1. ใบตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม ที่ปั่นให้ละเอียดแล้วนำไป ตากแห้ง
2. เศษเทียน
3. สีเทียน
4. แก้ว
5. ไส้เทียน ยาว 45 นิ้ว
6. กระดาษที่รองก้นแก้ว สูง 45 นิ้ว
7. ไม้ 8.เครื่องปั่นผลไม้
9.บีกเกอร์ ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10.บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
11.ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์
12.แท่งแก้วคนสาร
13.เตารีด
14.ไม้ขีดไฟ
15.เครื่องชั่ง
16.ตู้ ขนาดกว้าง 18 นิ้ว จำนวน 3 หลัง
17.ยุง
18.กระชอน
19.ที่กรอง

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง
ตัวแปรต้น เศษเทียน ใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง เปลือกส้มปั่นตากแห้ง
ตัวแปรตาม ไล่ยุงได้
ตัวแปรควบคุม
* เศษเทียนที่หลอมเหลวแล้ว 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
* ใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง 5,10 กรัม
* เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง 5,10 กรัม
* เปลือกส้มปั่นตากแห้ง 5,10 กรัม
* ตู้ขนาดกว้าง 18 นิ้ว ยาว 45 นิ้ว สูง 45 นิ้ว จำนวน 3 หลัง
* ยุงในตู้จำนวนหลังละ 50 ตัว
* ใช้เวลาในการทดลอง 30 นาที
* สถานที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนเทศบาล ๒

ผลการทดลอง
1. เศษเทียนผสมใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้งไล่ยุงได้ดีรองลงมาคือเศษเทียนผสมเปลือกมะกรูดปั่นตากแห้งและเศษเทียนผสมเปลือกส้มปั่นตากแห้ง( ไม่กรองกากสมุนไพร )
2. เศษเทียนผสมใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้งไล่ยุงได้ดีที่สุดรองลงมาคือเศษเทียนผสมเปลือกมะกรูดปั่นตากแห้งและเศษเทียนผสมเปลือกส้มปั่นตากแห้ง แห้ง ตามลำดับ และพบว่ายุงตายด้วย
( กรองกากสมุนไพรออก)

สรุปผลการทดลอง
* จะเห็นว่าเศษเทียนผสมใบตะไคร้-หอมปั่นตากแห้งไล่ยุง ได้ดีที่สุดรองลงมาคือเศษเทียนผสมเปลือกมะกรูดปั่น ตากแห้งและเศษเทียนผสมเปลือกส้มปั่นตากแห้ง ตามลำดับ และพบว่ายุงตายด้วย( กรองกากสมุนไพรออก)
* เศษเทียนที่เหลือใช้แล้วสามารถนำมาผสมกับสมุนไพรให้เกิดประโยชน์ได้
* ทำให้ทราบชนิดของสมุนไพรสามารถไล่ยุงได้

ข้อเสนอแนะการทดลอง
1. เมื่อผสมสีเทียนอาจได้ไม่ตรงตามต้องการ เช่น ผสมสีฟ้าได้เป็นสีฟ้าอมเขียว เพราะเศษเทียนมีสีเหลืองจึงทำให้สีคลาดเคลื่อน

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ด้านการศึกษา
1. ทำให้ทราบประโยชน์ของเศษเทียนที่เหลือใช้แล้ว
2. ทำให้ทราบว่าเศษเทียนสามารถผสมกับพืชสมุนไพรไล่ยุงได้
3. ทำให้ได้ทราบว่าชนิดของสมุนไพรสามารถไล่ยุงได้
ด้านเศรษฐกิจ
สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปจำหน่ายเป็นการเสริมรายได้แก่ครอบครัว



« Back


บทความ
โครงงานหน่อไม้กำจัดหนอน
โครงงาน กระดาษสวยด้วยชอล์กสี
โครงงานการใช้สารสกัดจากใบและเมล็ดน้อยหน่ากำจัดเหา
โครงงานสีผมสวยด้วยใบกาว
โครงงานขวดน้ำรีไซเคิล
โครงงาน Noun Modified
โครงงานเศรษฐกิจพอเพียงกับเทียนไขไล่ยุง
การสอนแบบโครงงาน
โครงงานคืออะไร
โครงงานรูปทรงและปริมาตรพิฆาตยุง

การเลี้ยงสัตว์


สนุก!ความรู้ > ห้องสมุดความรู้ > สารานุกรม > สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12 > หลักการเลี้ยงสัตว์
หลักการเลี้ยงสัตว์



สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12


หลักการเลี้ยงสัตว์ โดย การเลี้ยงปศุสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์มีปัจจัยที่สำคัญ ๔ ประการด้วยกัน คือ ๑. พันธุ์สัตว์ ๒. อาหารสัตว์ ๓. การจัดการและดูแล ๔. โรคสัตว์
[
ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หัวข้อ
พันธุ์สัตว์
อาหารสัตว์
การจัดการดูแล
โรคสัตว์
พันธุ์สัตว์
เกษตรกรไทยยังไม่ให้ความสำคัญต่อพันธุ์สัตว์ที่นำมาใช้เลี้ยงมากนัก จึงมิได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพทางพันธุกรรมของสัตว์ที่นำมาใช้เลี้ยง โดยเฉพาะในโคและกระบือ ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อหาสัตว์ที่มีคุณภาพดีมาเลี้ยงมากขึ้นโดยเฉพาะในไก่ เป็ด และสุกร เกษตรกรจำนวนมากยังนิยมตอนโคและกระบือที่มีขนาดใหญ่และรูปร่างดีเพื่อนำไปใช้งาน คงปล่อยให้โคและกระบือตัวผู้ขนาดเล็กไว้คุมฝูงจึงทำให้ลูกโคและกระบือที่คลอดออกมาระยะหลังๆ มีขนาดเล็กลง ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จึงควรที่จะได้เลือกหาซื้อสัตว์พันธุ์ดีมาเลี้ยง ไม่ใช่สัตว์อะไรก็ได้ และควรจะได้สงวนสัตว์ที่ดีมีรูปร่างใหญ่ให้นมมาก ให้เนื้อมาก ให้ลูกดก ให้ลูกบ่อย มีความทนทานต่อโรคเก็บไว้เลี้ยงทำพันธุ์ โดยเฉพาะควรจะเปลี่ยนวิธีตอนสัตว์เสียใหม่โดยให้ตอนตัวเล็กๆ ให้หมด และเก็บตัวใหญ่เอาไว้ทำพันธุ์ [
กลับหัวข้อหลัก]
[
ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
อาหารสัตว์
เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ให้ความสนใจต่อการให้อาหารโคและกระบือเท่ากับผู้เลี้ยงสุกร ไก่ และเป็ด โดยคิดเอาว่าโค และกระบือหาอาหารกินเองได้ ไม่จำเป็นต้องจัดหาอาหารให้ แม้แต่สุกร ไก่ และเป็ดเอง แม้รู้ว่าต้องจัดหาอาหารให้ก็ยังไม่รู้ว่าระยะใดสัตว์ต้องการอาหารชนิดใด มากน้อยเท่าใดจึงจะเหมาะสม เกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการให้อาหารสัตว์ และจัดหาอาหารมาให้สัตว์กินให้ถูกต้องกับความต้องการจึงจะทำให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตได้ดี ให้นมมากให้ลูกทุกปี หรือให้ลูกดก และไม่เป็นโรคต่างๆ เนื่องจากการขาดอาหาร อาหารหลักที่สำคัญๆ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรจะได้ให้ความสนใจ คือ ๑. อาหารโปรตีน อาหารโปรตีนมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การให้นมการให้เนื้อ และการผสมพันธุ์ ซึ่งมีอยู่มากในปลาป่น เนื้อป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว กากเมล็ดฝ้าย และในพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน และถั่วฮามาตา เป็นต้น ๒. อาหารพลังงาน อาหารแป้งเมื่อกินเข้าไปแล้วก็ถูกเปลี่ยนรูปเป็นอาหารพลังงาน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ทำงานตามปกติ เช่น การเคลื่อนไหว การเคี้ยว การย่อยและอื่นๆ อาหารแป้งหรืออาหารพลังงานมีมากในปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และรำข้าว เป็นต้น ๓. อาหารแร่ธาตุ อาหารแร่ธาตุนับว่ามีความสำคัญต่อระบบโครงสร้างหรือกระดูกโดยเฉพาะธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสซึ่งมีมากในกระดูกป่นหรือเปลือกหอยป่น นอกจากนี้สัตว์ก็ยังต้องการแร่ธาตุอื่นๆ อีก สำหรับระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายและระบบการผสมพันธุ์ เช่น ธาตุ-เหล็ก ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี แมงกานีส แมกนีเซียม ซีลีเนียม โซเดียม และโพแทสเซียมเป็นต้น ซึ่งเกษตรกรจะต้องจัดหาให้สัตว์กินเพิ่มเติมทั้งในรูปเกลือธรรมดาและเกลือประเภทพวกแร่ธาตุปลีกย่อย ซึ่งอาจเป็นผงสำหรับผสมอาหารสัตว์ หรือทำเป็นก้อนสำหรับให้สัตว์เลียกิน ๔. วิตามิน สัตว์โดยทั่วๆ ไปต้องการวิตามินสำหรับการเจริญเติบโตและการผสมพันธุ์ แม้ว่าสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้องจะสามารถสังเคราะห์วิตามินบีเองได้วิตามินที่สำคัญที่ควรให้แก่สัตว์ เลี้ยง ก็คือ วิตามินเอ ดี บีต่างๆ เค อี และซีเกษตรกรจำเป็นต้องจัดหาวิตามินให้สัตว์กินตามความเหมาะสมตามชนิดของสัตว์ และความต้องการในระยะต่างๆ ของการเจริญ-เติบโตหรือการผสมพันธุ์ ๕. น้ำ สัตว์เลี้ยงนอกจากต้องการอาหารแล้วก็ยังต้องการน้ำด้วย สัตว์จะตายในเวลาอันรวดเร็วหากว่าขาดน้ำ แต่จะยังมีชีวิตอยู่ได้นานถ้าขาดอาหารน้ำนับว่ามีความสำคัญต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหมุนเวียนของโลหิตและระบบขับถ่าย จึงควรที่เกษตรกรจะต้องดูแลให้สัตว์มีน้ำสะอาดกินตลอดเวลา ตามปริมาณความต้องการของสัตว์นั้นๆ [
กลับหัวข้อหลัก]
มันสำปะหลัง อาหารที่ให้พลังงานแก่สัตว์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การจัดการดูแล
สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกับคนที่ต้องการให้เจ้าของดูแล จึงจะสามารถเจริญเติบโตและให้ผลิตผลหรือการสืบพันธุ์ที่ดีได้สิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความดูแลให้แก่สัตว์ก็คือ ๑. เรือนโรง การเลี้ยงสัตว์ต้องมีเรือนโรงให้สัตว์อยู่ตามความเหมาะสม มิใช่เลี้ยงตามใต้ถุนบ้านหรือเลี้ยงปล่อย เพื่อสัตว์จะได้มีที่อยู่หลับนอนตามความเหมาะสม ไม่ถูกสัตว์อื่นหรือคนมารบกวน คอกจะต้องสะอาดและมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ มีการตักมูลสัตว์ออกทิ้งเป็นประจำไม่ให้มีการหมักหมม ๒. การให้อาหารและน้ำ การเลี้ยงสัตว์ที่ดีจำเป็นต้องมีการให้ อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด (ยกเว้นกรณีที่ให้ตลอดเวลาซึ่งก็ต้องดูแลให้ อาหารและน้ำตลอดเวลา) ไม่ควรเปลี่ยนเวลาให้อาหารและน้ำแก่สัตว์หากไม่จำเป็น เพราะจะทำให้สัตว์เกิดความเครียด และเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการให้น้ำนม ให้ไข่ ตลอดจนการผสมพันธุ์ ๓. การจัดการเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ การจัดการผสมพันธุ์ตามระยะที่เหมาะสมของการผสมพันธุ์จะทำให้สัตว์ตั้งท้องและมีลูกมากขึ้น ปริมาณหรืออัตราส่วนของตัวผู้ และตัวเมียก็มีความสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การผสมติดของสัตว์ในฝูง การคัดเลือกสัตว์ที่เป็นหมัน ผสมไม่ติดหรือติดยาก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำในการเลี้ยงสัตว์ แทนที่จะเลี้ยงสัตว์แล้วไม่ได้ผลตอบแทน สัตว์ที่ให้ผลิตผลน้อย เช่น นมน้อย ไข่น้อย หรือลูกครอกเล็กก็ควรจะได้ทำการคัดทิ้งแทนที่จะทนเลี้ยงต่อไปซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงขาดทุน ๔. การรีดนมและการจัดการอื่นๆ การรีดนมเป็นเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นประจำจะช่วยทำให้ผู้เลี้ยงได้น้ำนมมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงเวลารีดนมหากไม่จำเป็น การจัดการอื่นๆ เช่น การทำรางกันไม่ให้แม่สุกรทับลูกสุกรเมื่อลูกสุกรสยังเล็ก หรือการแยกสัตว์เล็กออกเลี้ยงต่างหากตามอายุหรือความเหมาะสม แทนที่จะปล่อยเลี้ยงรวมฝูง ก็นับว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้เลี้ยงมีกำไรหรือขาดทุนได้เช่นกัน[
กลับหัวข้อหลัก]
โรงเรือนของสุกรแม่พันธุ์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคสัตว์
โรคของสัตว์เลี้ยงยังนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรา ปัจจุบันนี้ เพราะมีโรคระบาดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตสัตว์และเศรษฐกิจหลายโรค ผู้เลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องเรียนรู้สาเหตุ อาการการป้องกัน และการรักษาโรคสัตว์นั้นด้วยตนเองสำหรับใช้ดำเนินการในเบื้องต้น เพื่อจักได้แก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ปัจจุบันมีโรคหลายโรคที่สามารถทำการป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงเป็นการล่วงหน้า เกษตรกรจำนวนมากยังเข้าใจผิดคิดว่าวัคซีนมีไว้สำหรับรักษาโรค และจะไม่ทำวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงจนมีโรคเกิดแล้วจึงติดต่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไปทำการฉีดวัคซีนให้ จึงทำให้โรคระบาดต่างๆ ยังเป็นปัญหาอยู่ทั่วไป แนวทางในการป้องกันโรคในหลักการใหญ่ๆ ที่ยึดถือปฏิบัติกันก็คือ ๑. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตวล่วงหน้า วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการป้องกันมิให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคระบาดตายก็คือ การทำวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ล่วงหน้าก่อนที่สัตว์จะป่วยเป็นโรคเพราะวัคซีนมีไว้สำหรับป้องกันโรคมิใช่รักษาโรค อย่างไรก็ตามวัคซีนช่วยให้โอกาสที่สัตว์ป่วยเป็นโรคน้อยลง แต่มิได้หมายความว่าเมื่อทำวัคซีนแล้วสัตว์จะไม่เป็นโรค โดยทั่วๆ ไปสัตว์ที่ทำวัคซีน ๑๐๐ ตัวจะไม่เป็นโรคประมาณ ๗๐-๘๐ ตัว อีก ๒๐-๓๐ ตัวอาจจะเป็นโรคได้ถ้าสัตว์อ่อนแอหรือมีเชื้อโรคเข้าไปมากๆ จึงควรที่เกษตรกรจะเข้าใจตามนี้ด้วย ๒. การป้องกันโรคทางอื่น การป้องกันโรคทางอื่นๆ ที่ควรจักได้ทำควบคู่กับการทำวัคซีนก็คือ ๒.๑ การจัดหาที่ให้สัตว์อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ปนกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ของชาวบ้าน ๒.๒ การจัดทำรั้วกั้นโดยรอบเพื่อมิให้สัตว์หรือคนเข้าไปในคอกสัตว์ ๒.๓ การไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในคอก เพื่อป้องกันการนำโรคจากภายนอกเข้ามา ๒.๔ การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคภายในคอกและทางผ่านก่อนเข้าคอก ๒.๕ การให้อาบน้ำเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวก่อนเข้าคอก หากจำเป็นต้องทำ ๒.๖ การไม่นำอาหารจากที่อื่นเข้าไปกินในคอก ๓. การคัดเลือกผสมพันธุ์สัตว์ให้มีความต้านทานโรค ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่าการคัดเลือกผสมพันธุ์สัตว์ให้มีความต้านทานโรคบางโรค อาจจะทำได้แม้จะไม่ได้ผลเต็มที่แต่ก็ช่วยให้โอกาสสัตว์เป็นโรคหรือได้รับอันตรายจากโรคน้อยลง เช่น โคที่มีเลือดพันธุ์บราห์มันซึ่งตามปกติจะพบว่ามีความทนทานต่อโรคไข้เห็บ เมื่อเอาวัวพันธุ์นี้มาผสมกับโคนมพันธุ์แท้หรือโคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศ ลูกผสมที่เกิดมาจะมีความทนทานต่อโรคนี้ได้ดีขึ้น ตามอัตราส่วนของเลือดโคบราห์มันที่มีอยู่ในโคลูกผสมนั้น ถ้ามีมากก็มีความคุ้มโรคมาก เป็นต้น (ดูเพิ่มเติมเรื่อง การบริโภคและอุตสาหกรรมนมหมวดเดียวกัน เล่มเดียวกัน) [
กลับหัวข้อหลัก]
การเจาะเลือดตรวจบลูเซลโลซิสโคนม

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
บรรณานุกรม• นายทิม พรรณศิริ[กลับหัวข้อหลัก]

function google_ad_request_done(google_ads) {
var s = '';
var i;
if (google_ads.length == 0) {return;}
if (google_ads.length == 1) {
// Change AFC Template hear
s += '

s += '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].line1 + '
- ' +
google_ads[0].line2 + ' ' +
google_ads[0].line3 + '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].visible_url + '
';
} else if (google_ads.length > 1) {
// Change AFC Template hear
s += '
for(i = 0; i google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].line1 + '
- ' +
google_ads[i].line2 + ' ' +
google_ads[i].line3 + '
google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].visible_url + '
';
}
}
document.write(s);
return;
}
google_ad_client = 'pub-3354360919676749'; // sanook.com client_id (pub-3354360919676749)
google_ad_channel = '5610605354+1124494271'; // guru.sanook.com (JS-guru-encyclopedia 5610605354 , JS-guru-encyclopedia.middle 1124494271 )
google_ad_output = 'js';
google_max_num_ads = '3';
google_ad_type = 'text';
google_feedback = 'on';
//google_adtest = 'on';


google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
Ads by Google
น้ำหอม ดึงดูดทางเพศ - เพิ่มรัก สร้างเสน่ห์ ปลุกอารมณ์ได้ เห็นผลแน่นอน ของแท้ นำเข้าจากยุโรป
www.sanaeh.com
ประเมินเครดิตของคุณ ฟรี - รวมบัตรเครดิต-สินเชื่อทุกธนาคาร แบบ Real-time ที่นี่
www.silkspan.com
อาหาร ลดความอ้วน แบบถาวร - ลดทั้งหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก รับชุดทดลองซิคะ รับรอง! ไม่ผิดหวัง+
www.Health2Shape.com
บทความอื่น ๆ ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ


บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มอื่น
การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะการพัฒนาฝีมือแรงงานและอุปกรณ์การผลิตการเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรความเสื่อมโทรมของพื้นที่ต้นน้ำลำธารโครงการตามพระราชดำริด้านการพัฒนาปัจจัยการผลิตวิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมศิลปะและเทคนิคในการวางแผนและปฏิบัติการตามแผนสมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศลสารเคมีฝนหลวงสารานุกรมเล่มอื่นๆ ในประเทศไทย
สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษกสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 6สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 26สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
>> ดูบทความ ทั้งหมด
>> สารานุกรมไทยฯ ทั้งหมด


' +
' ' +
'' +
'' +
'';
} else if (google_ads[0].type == "image") {
s += '
google_info.feedback_url + '\" style="text-decoration:none; color: #484848; float:left">Ads by Google google_ads[0].visible_url + '\';return true" title="go to ' +
google_ads[0].visible_url + '" onmouseout="window.status=\'\'" href="http://www.blogger.com/'%20+%20google_ads[0].url%20+%20'" target=_top>
';
} else if (google_ads[0].type == "html") {
s += google_ads[0].snippet;
} else {
if (google_ads.length == 1) {
// Change AFC Template hear
s += '

s += '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].line1 + '
' +
google_ads[0].line2 + ' ' +
google_ads[0].line3 + '
google_ads[0].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[0].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[0].visible_url + '
';
} else if (google_ads.length > 1) {
// Change AFC Template hear
s += '
for(i = 0; i google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].line1 + '
' +
google_ads[i].line2 + ' ' +
google_ads[i].line3 + '
google_ads[i].url + '" onmouseout="window.status=\'\'" onmouseover="window.status=\'go to ' +
google_ads[i].visible_url + '\';return true">' +
google_ads[i].visible_url + '
';
}
}
}
document.write(s);
return;
}
google_ad_client = 'pub-3354360919676749'; // sanook.com client_id (pub-3354360919676749)
google_ad_channel = '5610605354+9894749106'; // guru.sanook.com (JS-guru-encyclopedia 5610605354 , JS-guru-encyclopedia.botton 9894749106 )
google_ad_output = 'js';
google_max_num_ads = '5';
google_ad_type = 'text_html';
google_image_size = '300x250';
google_skip = '3';
google_feedback = 'on';
//google_adtest = 'on';
// -->
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
Ads by Google

หลักการเลี้ยงสัตว์









หลักการเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ใหญ่
การเลี้ยงโคพื้นเมือง
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคเนื้อ
การเลี้ยงโคขุน
การเลี้ยงกระบือ
การเลี้ยงสัตว์เล็ก
การเลี้ยงสุกร
การเลี้ยงแกะ
การเลี้ยงแพะ
การเลี้ยงสัตว์ปีก
การเลี้ยงไก่
การเลี้ยงเป็ด - ห่าน
การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่
การเลี้ยงกวาง
การเลี้ยงอูฐ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระทา
การเลี้ยงนกอีมู
การเลี้ยงผึ้ง











































































page="การเลี้ยงสัตว์";